วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต(Internet)
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Computer System) ที่ใหญ่ที่สุด เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายในโลกเข้าด้วยกัน เช่นเครือข่ายแลน เครือข่ายของเครื่องมินิหรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
แต่ละเครือข่ายจะต้องมีเครื่องแม่ข่าย(Server) ที่เรียกว่า โฮสต์(Host) คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารกับผู้ใช้บริการ




ความเป็นมา
อินเตอร์เน็ตเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมอเมริกัน(DOD หรือ US Department Of Defense) และองค์การป้องกันประเทศอเมริกา(ARPA หรือArmed-Forces Research Project Agency) ก่อตั้งโครงการ ARPANET เพื่อทดลองระบบเครือข่ายของหน่วยงานทางทหาร เป็นการกระจายการเก็บข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการทำลายข้อมูลจากข้าศึก
มีการเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์จากที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ให้สามารถทำงานแทนกันได้
 การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 
เริ่มเชื่อมต่อครั้งแรกในปี 2532 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จุดประสงค์เพื่อใช้รับส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลล์กับประเทศออสเตรเลีย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(NECTEC) จัดทำโครงการ
เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น

เส้นทางการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตในไทยเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ที่อเมริกามี
 3 เส้นทาง
NECTEC, จุฬาลงกรณ์ และ KSC


วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์
เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่าน เกตเวย์(Gateway) หรือ IP Routerสายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers(ISP)
เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง
โปรโตคอล(Protocol) คืออะไร
เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ
ตัวอย่างของโปรโตคอล
TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
FTP(File Transfer Protocol)
HTTP(Hyptertext Trasfer Protocol)
ซอฟต์แวร์เว็บเซิร์ฟเวอร์
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนระบบปฏิบัติการ UNIX
Apache , NCSA httpd 
ฯลฯ
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS NT
IIS(Internet Information Server)
ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บน WINDOWS 95, 98,XP
Personal Web Server
OmniHTTPD 
ฯลฯ

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์
เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียง
NCSA Mosaic
Netscape Navigator
Microsoft Internet Explorer
Opera

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic
สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์ ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไป
สามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP, Usenet News ไว้ด้วย
เป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator
Marc Andressen 
กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Mosaic Communication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุนภาษา Java และ Javascript

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer
ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯ
เกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSA Mosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้
มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
รับส่งจดหมาย (email) - ใช้โปรแกรมยูโดร่าเอ้าท์ลุค เป็นต้น
ค้นหาข้อมูลและภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว - ใช้โปรแกรมเนทสเคปเอ็กซ์โพรเลอร์ ดาวน์โหลดโปรแกรม ไดร์ซเวอร์ และอื่น ๆ ขายสินค้า โฆษณาหรือสั่งซื้อสินค้า เล่มเกมส์ผ่านอินเตอร์เน็ต พูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตแทนโทรศัพท์ - ใช้โปรแกรมเน็ตทูโฟน รับส่งแฟ็กซ์ 
ดูหนัง ฟังเพลง และอื่น ๆ อีกมากมาย

World Wide Web(WWW) คืออะไร
เกิดขึ้นในปี 1989 โดย Tim Berners-Lee แห่งห้องปฏิบัติการ CERNเป็นบริการหนึ่งที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเตอร์ง่ายขึ้น ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป
เป็นการแสดงเอกสารที่อยู่ในรูปของสื่อผสม(Multimedia) ที่เรียกว่าเว็บเพจ(Web Page) ที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext)
ส่วนประกอบของ WWW
แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์(Web Site)
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)
เว็บไซต์หรือเว็บเซิรฟ์เวอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บ เว็บเพจ เว็บบราวเซอร์ หรือเว็บไคลเอ็นต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ WWW เพื่อเปิดดูเว็บเพจในเว็บไซต์
โฮมเพจ(Home Page) คืออะไร
  • เป็นหน้าแรกของเว็บเพจทั้งหมดที่ผู้ใช้บริการจะพบเมื่อมีการเข้าไป
    ยังเว็บไซต์ใดๆ
  • เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่แสดงให้ผู้บริการทราบว่าในเว็บไซต์นั้นมีบริการ
    ใดบ้าง เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรของตน
  • ภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ เชื่อมโยง ต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมาก
IP Address, DNS, E-mail Address และ URL
IP Address คืออะไร
เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย
ประกอบด้วยตัวเลข ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 202.44.194.6 ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ ถึง 28-1 = 255 เท่านั้น
โฮสต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องขอหมายเลข IP นี้จากหน่วยงาน Internet Network Information Center(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NSI) สหรัฐอเมริกา
ผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อรับหมายเลข IP จาก ISP ได้
DNS(Domain Name System) คืออะไร
เป็นเทคนิคการเปลี่ยนหมายเลข IP ที่เป็นตัวเลขให้เป็นตัวอักษรแทน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
ตัวอย่างของ DNS เช่น 
DNS IP Address
kku1.kku.ac.th -------> 202.12.97.1
DNS(Domain Name System)
รูปแบบของ DNS มีดังต่อไปนี้
ชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบน
ชื่อโดเมนระดับบน จะแบ่งออกได้เป็น ประเภทคือ
ชื่อโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา
เช่น
com commercial กลุ่มองค์กรเอกชน
edu educational 
กลุ่มสถาบันการศึกษา
gov governmental 
กลุ่มองค์กรของรัฐทั่วไป
mil military 
กลุ่มองค์กรทหาร
net network services 
กลุ่มองค์กรบริหารเครือข่าย
org non-commercial organization 
กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไร
เช่น 
biz.zd.com
ชื่อโดเมนระดับบนที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ 
เช่น
au 
ออสเตรเลีย jp ญี่ปุ่น
ca 
แคนาดา th ไทย
fr 
ฝรั่งเศส uk อังกฤษ
จะมีสับโดเมน(Subdomain) ที่แสดงถึงประเภทขององค์กรในประเทศนั้นๆ 
เช่น
ac 
สถาบันการศึกษา go องค์กรรัฐบาล
co 
องค์กรเอกชน or องค์กรไม่แสวงหากำไร
เช่น kku1.kku.ac.th
E-mail Address คืออะไร
เป็นที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือที่อยู่อีเมลล์ เพื่อให้ผู้ใช้งานในอินเตอร์เน็ตสามารถรับส่งจดหมายผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้
รูปแบบมีดังต่อไปนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่อโฮสต์.ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น[.ชื่อโดเมนย่อย.].ชื่อโดเมนระดับบน
ตัวอย่างเช่น potjaluck@yahoo.com
ตัวอย่างโปรแกรม E-mail ที่มีบริการอยู่ในอินเตอร์เน็ต
Microsoft Outlook
Netscape Mail 
หรือ Netscape Messenger
Eudora
Yahoo
Hot mail 
ฯลฯ
 


URL (Uniform Resource Locator) คืออะไร
เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้บริการจะเข้าไปเรียกดูข้อมูล ชื่อโดเมนยังสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ URL ได้รูปแบบมีดังต่อไปนี้
โปรโตคอล://ชื่อโดเมน/ชื่อไดเรกทอรี่ที่เก็บไฟล์ในโฮสต์/ชื่อไฟล์ในโฮสต์
ตัวอย่างของโปรโตคอลที่เรียกใช้บริการได้ เช่น http:// หรือ ftp:// เป็นต้น
HTML(HyperText Markup Language) คืออะไร
เว็บเพจจะถูกสร้างขึ้นมาจากภาษา HTML HTML เป็นภาษาสำหรับทำเครื่องหมายอันประกอบด้วยคำสั่งที่เรียกว่า “Tags” ที่เป็นตัวกำหนดว่าเว็บเพจจะมีข้อความอะไร มีการแสดงรูปภาพ เสียง และวีดีโอที่ตำแหน่งใด หรือมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นอีกหรือไม่ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น